4 พ.ย. 2550

นาฏศิลป์ "Thai Dance"

นาฏศิลป์ หมายถึงอะไร?

นาฏศิลป์ หมายถึง ศิลปะการฟ้อนรำ หรือความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยความประณีตงดงาม ให้ความบันเทิง อันโน้มน้าวอารมณ์และความรู้สึกของผู้ชมให้คล้อยตาม ศิลปะประเภทนี้ต้องอาศัยการบรรเลงดนตรี และการขับร้องเข้าร่วมด้วย เพื่อส่งเสริมให้เกิดคุณค่ายิ่งขึ้น หรือเรียกว่า ศิลปะของการร้องรำทำเพลง

การศึกษานาฏศิลป์ เป็นการศึกษาวัฒนธรรมแขนงหนึ่ง นาฏศิลป์เป็นส่วนหนึ่งของศิลปะสาขาวิจิตรศิลป์ อันประกอบด้วย จิตรกรรม สถาปัตยกรรม วรรณคดี ดนตรี และนาฏศิลป์

นาฏศิลป์ นอกจากจะแสดงความเป็นอารยะของประเทศแล้ว ยังเป็นเสมือนแหล่งรวมศิลปะและการแสดงหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน โดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ในการที่จะสร้างสรรค์ อนุรักษ์ และถ่ายทอดสืบต่อไป

ที่มาของนาฏศิลป์
นาฏศิลป์ไทยมีกำเนิดมาจาก
๑. การเลียนแบบธรรมชาติ แบ่งเป็น ๓ ขึ้น คือ
ขั้นต้น เกิดแต่วิสัยสัตว์ เมื่อเวทนาเสวยอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาก็ตาม ถ้าอารมณ์แรงกล้าไม่กลั้นไว้ได้ ก็แสดงออกมาให้เห็นปรากฏ เช่น เด็กทารกเมื่อพอใจ ก็หัวเราะตบมือ กระโดดโลดเต้น เมื่อไม่พอใจก็ร้องไห้ ดิ้นรน
ขั้นต่อมา เมื่อคนรู้ความหมายของกิริยาท่าทางมากขึ้น ก็ใช้กิริยาเหล่านั้นเป็นภาษาสื่อความหมาย ให้ผู้อื่นรู้ความรู้สึกและความประสงค์ เช่น ต้องการแสดงความเสน่หาก็ยิ้มแย้ม กรุ้มกริ่มชม้อยชม้ายชายตา หรือโกรธเคืองก็ทำหน้าตาถมึงทึง กระทืบ กระแทก
ต่อมาอีกขั้นหนึ่ง มีผู้ฉลาดเลือกเอากิริยาท่าทาง ซึ่งแสดงอารมณ์ต่างๆ นั้นมาเรียบเรียงสอดคล้อง ติดต่อกันเป็นขบวนฟ้อนรำให้เห็นงาม จนเป็นที่ต้องตาติดใจคน

๒. การเซ่นสรวงบูชา มนุษย์แต่โบราณมามีความเชื่อถือในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงมีการบูชา เซ่นสรวง เพื่อขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประทานพรให้ตนสมปรารถนา หรือขอให้ขจัดปัดเป่าสิ่งที่ตนไม่ปรารถนาให้สิ้นไป การบูชาเซ่นสรวง มักถวายสิ่งที่ตนเห็นว่าดีหรือที่ตนพอใจ เช่น ข้าวปลาอาหาร ขนมหวาน ผลไม้ ดอกไม้ จนถึง การขับร้อง ฟ้อนรำ เพื่อให้สิ่งที่ตนเคารพบูชานั้นพอใจ ต่อมามีการฟ้อนรำบำเรอกษัตริย์ด้วย ถือว่าเป็นสมมุติเทพที่ช่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ มีการฟ้อนรำรับขวัญขุนศึกนักรบผู้กล้าหาญ ที่มีชัยในการสงครามปราบข้าศึกศัตรู ต่อมาการฟ้อนรำก็คลายความศักดิ์สิทธิ์ลงมา กลายเป็นการฟ้อนรำเพื่อความบันเทิงของคนทั่วไป

๓. การรับอารยธรรมของอินเดีย เมื่อไทยมาอยู่ในสุวรรณภูมิใหม่ๆ นั้น มีชนชาติมอญ และชาติขอมเจริญรุ่งเรืองอยู่ก่อนแล้ว ชาติทั้งสองนั้นได้รับอารยธรรมของอินเดียไว้มากมายเป็นเวลานาน เมื่อไทยมาอยู่ในระหว่างชนชาติทั้งสองนี้ ก็มีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิด ไทยจึงพลอยได้รับอารยธรรมอินเดียไว้หลายด้าน เช่น ภาษา ประเพณี ตลอดจนศิลปการละคร ได้แก่ ระบำ ละครและโขน

พิธีไหว้ครูนาฎศิลป์

การไหว้ครูนับเป็นวัฒนธรรมไทยแบบหนึ่ง เป็นขนบธรรมเนียมอันดีงามในส่วนที่เกี่ยวกับกิริยามายาท สัมมาคารวะ และมีส่วนที่จะโน้มน้าวจิตใจมนุษย์ให้รักษาคุณความดี รักษาวิทยาการสืบเนื่องไปด้วยดี ทั้งยังจูงใจให้เป็นผู้มีนิสัยอ่อนโยนไม่แข็งกระด้าง

การไหว้ครู คือ การแสดงถึงความเคารพกตเวทีแด่ท่านบูรพาจารย์และครูบาอาจารย์ ผู้ซึ่งได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ ศิษย์ในฐานะผู้สืบทอดมรดกทางวิชาการ จึงพร้อมใจกันปวารณาตนรับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้วยความวิริยะอุตสาหะมานะอดทน เพื่อจะได้เป็นความรู้ติดตัวนำไปประกอบอาชีพ เพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ตนเองในภายภาคหน้า

นาฏศิลป์ไทย จำแนกออกได้เป็น

๑. โขน
โขนเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงที่เก่าแก่ของไทย มีมานานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตามหลักฐานจากจดหมายเหตุของลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้กล่าวถึงการเล่นโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทางเข้ากับเสียงซอและเครื่องดนตรีอื่นๆ ผู้เต้นสวมหน้ากากและถืออาวุธ โขนเป็นที่รวมของศิลปะหลายแขนงคือ โขนนำวิธีเล่นและวิธีแต่งตัวบางอย่างมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ โขนนำท่าต่อสู้โลดโผน ท่ารำท่าเต้นมาจากกระบี่กระบอง และโขนนำศิลปะการพากย์การเจรจา หน้าพาทย์เพลงดนตรี การแสดงโขน ผู้แสดงสวมศีรษะคือหัวโขน ปิดหน้าหมด ยกเว้น เทวดา มนุษย์ และมเหสี ธิดาพระยายักษ์ มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องบทให้และมีคนพากย์และเจรจาให้ด้วย เรื่องที่แสดงนิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์และอุณรุฑ ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงโขนใช้วงปี่พาทย์

๒. ละคร


ละครไทย เป็นศิลปะและวัฒนธรรมไทย ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ แบ่งออกเป็น ละครรำแบบดั้งเดิม ได้แก่ ละครชาตรี ละครนอก ละครใน และ ละครรำที่ประยุกต์ขึ้นใหม่ ได้แก่ ละครดึกดำบรรพ์ ละครพันทาง ละครเสภา ละครสังคีต ละครร้อง ละครพุด ละครเพลง ละครหลวงวิจิตรวาทการ

ละครแบ่งออกเป็น 12 ประเภทได้แก่......
+ละครชาตรี
+ละครนอก
+ละครใน
+ละครดึกดำบรรพ์
+ละครพันทาง
+ละครเสภา
+ละครสังคีต
+ละครร้อง
+ละครพูด
+ละครเพลง
+ละครหลวงวิจิตรวาทการ
+ลิเก

๓. รำไทย
เช่น รำวงมาตรฐาน, รำวง รำโทน, ฟ้อนเงี้ยว

๔. การละเล่นพื้นเมือง
การละเล่น หมายถึง การเล่นดนตรี การเล่นเพลง การเล่นรำ การเล่นที่ต้องร่วมกันตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป เรียกว่า มหรสพหรือศิลปะการแสดง พื้นเมือง หมายถึง สิ่งที่อยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ

การละเล่นพื้นเมือง หมายถึง การแสดงใด ๆ อันเป็นประเพณีนิยมในท้องถิ่นและเล่นกันใน ระหว่างประชาชน เพื่อความสนุกสนานรื่นเริงตามฤดูกาล การแสดงต้องเป็นไปอย่างมีวัฒนธรรม มีความเรียบร้อย ใช้ถ้อยคำสุภาพ แต่งกายสุภาพถูกต้องตามความนิยมและวัฒนธรรม เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น สถานที่ก็ต้องจัดให้เหมาะสมกับโอกาสที่จะแสดง ซึ่งการละเล่นพื้นเมือง จะไม่เป็นอาชีพหรือเพื่อหารายได้ จะมีดนตรีหรือการขับร้อง หรือการฟ้อนรำประกอบก็ได้

การละเล่นพื้นเมือง แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ การแสดงพื้นเมือง และ เพลงพื้นเมือง
การแสดงพื้นเมือง หมายถึง การละเล่นที่มีการแสดง การร่ายรำ มีเพลงดนตรีประกอบ ที่ได้วางเป็นแบบแผน และนิยมเล่นหรือถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนแพร่หลายการแสดงพื้นเมือง อาจเกิดจากการบูชาบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ขอให้สิ่งที่ตนนับถือประทานสิ่งที่ตนปรารถนา หรือขจัดปัดเป่าสิ่งที่ไม่ปรารถนา นอกจากนี้ ก็เป็นการแสดงเพื่อความบันเทิงรื่นเริง

เพลงพื้นเมือง หมายถึง เพลงที่ชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น ๆ ประดิษฐ์แบบแผนการร้องเพลง ไปตามความนิยม และสำเนียงภาษาพูดในท้องถิ่นของตน นิยมร้องเล่นกันในเทศกาลหรืองานที่มีการชุมนุมรื่นเริง เช่น ตรุษ สงกรานต์ ขึ้นปีใหม่ ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า และในการลงแขกเกี่ยวข้าว นวดข้าว เป็นการเล่นที่สืบต่อกันมา เนื้อความของเพลงพื้นเมืองที่นิยมร้องกัน มักจะเป็นการเกี้ยวพาราสีระหว่างชายหญิง ปะทะคารมกัน ในด้านสำนวนโวหาร สิ่งสำคัญของการร้องคือ การด้นกลอนสด ร้องแก้กันด้วยปฏิภาณไหวพริบ ทำให้เกิดความสนุกสนานทั้งสองฝ่าย

๕.มหรสพไทย
มหรสพไทยที่นอกเหนือไปจาก โขน ละคร ลิเก ยังมีมหรสพอื่นๆ ได้แก่ การละเล่นของหลวงหรือมหรสพหลวง กระบี่กระบอง หุ่นไทย หนังใหญ่ มหรสพไทยจะมีขึ้นเมื่อมีงานต่างๆ ส่วนมากจะเป็นงานฉลอง สมโภช และงานศพซึ่งจัดได้ทุกระดับ ในงานพระเมรุมาศใหญ่ๆ ก็เคยมีมหรสพให้ประชาชนมาดูกัน ถ้าเป็นงานของหลวงก็จะยิ่งใหญ่และมีการแสดงต่างๆ หลากหลายกว่างานของสามัญชน สิ่งเหล่านี้เป็นมรดกสมบัติอันมีค่าของสังคมอันควคแก่การอนุรักษ์อย่างยิ่ง







มหรสพไทยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่....
+มหรสพหลวง
+กระบี่กระบอง
+หุ่นไทย
+หนังใหญ่

ระบำ รำ ฟ้อน




นาฏศิลป์ เป็นการรวมความเป็นเลิศของศิลปะแขนงต่างๆ วิวัฒนาการมาพร้อมกับความเจริญของมนุษย์ โดยอาศัยพลังและเจตนา เป็นเครื่องผลักดันให้จิตกระตุ้นร่างกายให้แสดงการเคลื่อนไหว มีจังหวะ มีแบบแผน เพื่อให้เกิดความสุข ความเข้าใจ และความงดงามแก่ตนเองและผู้อื่น นาฏศิลป์ไทย เป็นศิลปวัฒนธรรมประจำชาติแต่โบราณ เป็นศิลปะชั้นสูง แยกประเภทการแสดงออกเป็นหลายแบบ ใช้ภาษาท่าเหมือนกัน แต่แยกลักษณะและประเภทการแสดงแตกต่างกัน ขอบข่ายของนาฏศิลป์ไทย จำแนกเป็นประเภทต่างๆ ได้แก่ โขน หนัง หุ่น ละครรำ ละครรำ ละครร้อง ละครสังคีต ละครพูด การละเล่นของหลวง การเล่นเบิกโรง การละเล่นพื้นเมือง

นาฏศิลป์ไทยประเภทต่างๆ ดังกล่าวมานี้ เรียกกันโดยทั่วไปว่า "มหรสพ" ซึ่งหมายถึงการเล่นรื่นเริง มีโขน ละคร หรือสิ่งที่คล้ายคลึงกัน ปัจจุบันมหรสพมีความหมายกว้างขวาง รวมไปถึงการเล่นรื่นเริงทุกชนิด มีระบำ รำ ฟ้อน เป็นต้น

ระบำ คือ ศิลปะของการร่ายรำที่แสดงพร้อมกันเป็นหมู่เป็นชุด ความงามของการแสดงระบำ อยู่ที่ความสอดประสานกลมกลืนกัน ด้วยความพร้อมเพรียงกัน การแสดงมีทั้งเนื้อร้องและไม่มีเนื้อร้อง ใช้เพียงดนตรีประกอบ คำว่า "ระบำ" รวมเอา "ฟ้อน" และ "เซิ้ง" เข้าไว้ด้วยกัน เพราะวิธีการแสดงไปในรูปเดียวกัน แตกต่างกันที่วิธีร่ายรำ และการแต่งกายตามระเบียบประเพณีตามท้องถิ่น


ระบำ แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ ระบำดั้งเดิมหรือระบำมาตรฐาน และระบำปรับปรุงหรือระบำเบ็ดเตล็ด

๑. ระบำดั้งเดิมหรือระบำมาตรฐาน หมายถึง การแสดงที่ปรมาจารย์ได้กำหนดเนื้อร้อง ทำนองเพลง ลีลาท่ารำและการแต่งกาย ตลอดถึงกระบวนการแสดงไว้อย่างแน่นอนตายตัว และได้สั่งสอน ฝึกหัด ถ่ายทอด ต่อๆ กันมาเป็นเวลานาน จนนับถือเป็นแบบฉบับ จัดเป็นระบำมาตรฐาน เป็นแม่บทที่ควรธำรงรักษาไว้ ซึ่งใครจะเปลี่ยนแปลงลีลาท่ารำไม่ได้ เช่น ระบำดาวดึงส์ ระบำกฤดาภินิหาร ระบำเทพบันเทิง ระบำโบราณคดี
๒. ระบำปรับปรุงหรือระบำเบ็ดเตล็ด หมายถึง การแสดงที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ตามประสงค์ ตามเหตุการณ์ ตามสมัยนิยม และตามเนื้อเรื่องที่ผู้ประพันธ์ต้องการ ระบำปรับปรุงแยกออกเป็น
- ปรับปรุงจากแบบมาตรฐาน หมายถึง ระบำที่คิดประดิษฐ์ขึ้นโดยยึดแบบและลีลา ตลอดจนความสวยงามในด้านระบำไว้ ท่าทางลีลาที่สำคัญยังคงไว้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้ดูงามขึ้นอีก หรือเปลี่ยนแปลงเพื่อความเหมาะสมกับสถานที่ที่นำไปแสดง เช่น การจัดรูปแถว การนำเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงเข้าไปสอดแทรก เป็นต้น
- ปรับปรุงจากพื้นบ้าน หมายถึง ระบำที่คิดประดิษฐ์สร้างสรรค์ขึ้นจากแนวทางความเป็นอยู่ของคนพื้นบ้าน การทำมาหากิน อุตสาหกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ในแต่ละท้องถิ่นมาแสดงออกเป็นรูประบำ เพื่อเป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น เช่น เซิ้งบั้งไฟ เต้นกำรำเคียว ระบำงอบ ระบำกะลา รองเง็ง ฯลฯ
- ปรับปรุงจากท่าทางของสัตว์ หมายถึง ระบำที่คิดประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ตามลักษณะลีลาท่าทางของสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น ระบำนกยูง ระบำนกเขา ระบำมฤครำเริง ระบำบันเทิงกาสร ระบำตั๊กแตน เป็นต้น
- ปรับปรุงจากตามเหตุการณ์ หมายถึง ระบำที่คิดประดิษฐ์ขึ้นใช้ตามโอกาสที่เหมาะสม เช่น ระบำพระประทีป ระบำโคมไฟ ระบำที่ประดิษฐ์ขึ้นรำในวันนักขัตฤกษ์ ลอยกระทงในเดือนสิบสอง ระบำที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อการต้อนรับ เพื่อแสดงความยินดี อวยพรวันเกิด เป็นต้น
- ปรับปรุงจากสื่อการสอน เป็นระบำประดิษฐ์และสร้างสรรค์ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางสื่อนำสู่บทเรียน เหมาะสำหรับเด็ก ๆ เป็นระบำง่าย ๆ เพื่อเร้าความสนใจ ประกอบบทเรียนต่าง ๆ เช่น ระบำสูตรคูณ ระบำวรรณยุกต์ ระบำประเภทปรับปรุงขึ้นใหม่นี้ ลักษณะท่ารำจะไม่ตายตัว จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ ตัวบุคคล ตลอดจนฝีมือและความสามารถของผู้สอนและตัวนักเรียนเอง


รำ หมายถึง การแสดงที่มุ่งความงามของการร่ายรำ เป็นการแสดงท่าทางลีลาของผู้รำ โดยใช้มือแขนเป็นหลัก
ประเภทของการรำ ได้แก่ การรำเดี่ยว การรำคู่ การรำหมู่

๑. การรำเดี่ยว คือ การรำที่ใช้ผู้แสดงเพียงคนเดียว จุดมุ่งหมายคือ

๑.๑ ต้องการอวดฝีมือในการรำ

๑.๒ ต้องการแสดงศิลปะร่ายรำ

๑.๓ ต้องการสลับฉากเพื่อรอการจัดฉาก หรือตัวละครแต่งกายยังไม่เสร็จเรียบร้อย การรำเดี่ยว เช่น การรำฉุยฉายต่าง ๆ รำมโนราห์บูชายัญ รำพลายชุมพล ฯลฯ

๒. การรำคู่ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ รำคู่ในเชิงศิลปะการต่อสู้ ไม่มีบทร้อง และรำคู่ในชุดสวยงาม

๒.๑ การรำคู่ในเชิงศิลปะการต่อสู้ ได้แก่ กระบี่ กระบอง ดาบสองมือ โล่ ดาบ เขน ดั้ง ทวน และรำกริช เป็นการรำไม่มีบทร้อง ใช้สลับฉากในการแสดง

๒.๒ การรำคู่ในชุดสวยงาม ท่ารำในการรำจะต้องประดิษฐ์ให้สวยงาม ทั้งท่ารำที่มีคำร้องตลอดชุด หรือมีบางช่วงเพื่ออวดลีลาท่ารำ มีบทร้องและใช้ท่าทางแสดงความหมายในตอนนั้น ๆ ได้แก่ หนุมานจับสุพรรณมัจฉา หนุมานจับนางเบญกาย พระรามตามกวาง พระลอตามไก่ รามสูร เมขลา รจนาเสี่ยงพวงมาลัย ทุษยันต์ตามกวาง รำแม่บท รำประเลง รำดอกไม้เงินทอง รถเสนจับม้า

๓. การรำหมู่ เป็นการแสดงมากกว่า ๒ คนขึ้นไป ได้แก่ รำโคม ญวนรำกระถาง รำพัด รำวงมาตรฐาน และรำวงทั่วไป การแสดงพื้นเมืองของชาวบ้าน เช่น เต้นกำรำเคียว รำกลองยาว

ฟ้อน หมายถึง ศิลปะการแสดงที่เป็นประเพณีของทางภาคเหนือ จะใช้ผู้แสดงเป็นจำนวนมาก มีลีลาการฟ้อนพร้อมเพรียงกันด้วยจังหวะที่ค่อนข้างช้า การพิจารณาศิลปะการฟ้อนที่ปรากฏในลานนาปัจจุบัน อาจารย์ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล ได้แบ่งการฟ้อนออกเป็น ๕ ประเภท คือ

๑. ฟ้อนที่สืบเนื่องมาจาการนับถือผี เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อและพิธีกรรม เป็นการฟ้อนเก่าแก่ที่มีมาช้านาน ได้แก่ ฟ้อนผีมด ผีเม็ง ฟ้อนผีบ้านผีเมือง

๒. ฟ้อนแบบเมือง หมายถึง ศิลปะการฟ้อนที่มีลีลาแสดงลักษณะเป็นแบบฉบับของ "คนเมือง" หรือ "ชาวไทยยวน" ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเจิง ตบมะผาบ ฟ้อนดาบ ตีกลองสะบัดไชย ฟ้อนสาวไหม

๓. ฟ้อนแบบม่าน เป็นการผสมผสานกันระหว่างศิลปะการฟ้อนของพม่า กับของไทยลานนา ได้แก่ ฟ้อนม่านมุ่ยเชียงตา

๔. ฟ้อนแบบเงี้ยวหรือแบบไทยใหญ่ หมายถึง การฟ้อนตลอดจนการแสดงที่รับอิทธิพล หรือมีต้นเค้ามาจากศิลปะการแสดงของชาวไทยใหญ่ ได้แก่ เล่นโต กิ่งกะหร่า(กินนรา) หรือฟ้อนนางนก กำเบ้อคง มองเซิง ฟ้อนไต(ไทยใหญ่) ฟ้อนเงี้ยว

๕. ฟ้อนที่ปรากฏในบทละคร เป็นการฟ้อนที่มีผู้คิดสร้างสรรขึ้นในการแสดงละครพันทาง ซึ่งนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้แก่ ฟ้อนน้อยใจยา ฟ้อนลาวแพน ฟ้อนม่านมงคล

คุณค่าจากการรำไทย


๑. เพื่อการสื่อสาร นาฏศิลป์ได้พัฒนาจากรูปลักษณ์ที่ง่าย และเป็นส่วนประกอบของคำพูดหรือวรรณศิลป์ ไปสู่การสร้างภาษาของตนเองขึ้นที่เรียกว่า "ภาษาท่ารำ" โดยกำหนดกันในกลุ่มชนที่ใช้นาฏศิลป์นั้นๆ ว่าท่าใดมีความหมายอย่างไร

๒. เพื่องานพิธีกรรมต่างๆ ได้แก่ การฟ้อนรำเพื่อบูชาหรือบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การรำแก้บน การฟ้อนรำอีกลักษณะหนึ่งเป็นการฟ้อนรำบูชาครู ไม่ได้แก้บนใด ๆ แต่เป็นการฟ้อนบูชาครู หรือเป็นพุทธบูชา เช่น การรำถวายมือในพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ไทย

๓. เพื่องานพิธีการต่างๆ ได้แก่ พิธีการต้อนรับแขกเมืองสำคัญ พิธีแห่เทวรูปที่เคารพประจำปี เพื่อเป็นสิริมงคล พิธีฉลองงานสำคัญ เช่น งานวันเกิด งานวันครบรอบ

๔. เพื่อความบันเทิงและการสังสรรค์ นาฏศิลป์ให้ความบันเทิงแก่ผู้มาร่วมงานต่างๆ เช่น การรำอวยพรในวันเกิด ในงานรื่นเริงต่างๆ

๕. เพื่อการออกกำลังกายและพัฒนาบุคลิกภาพ การฝึกหัดรำไทยต้องอาศัยกำลังในการฝึกซ้อมและ ในการแสดงอย่างมาก เหมือนกับได้ออกกำลังกายอยู่ตลอดเวลา เป็นการกระตุ้นหรือบำบัดส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ทำให้กระฉับกระเฉง ไม่เครียด เป็นการสร้างเสริมบุคคลิกภาพและมีการทรงตัวที่สง่างามด้วย

๖. เพื่อการอนุรักษ์และเผยแพร่ นาฏศิลป์เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชุมชน ในชุมชนหนึ่งๆ มักมีการสืบทอด และอนุรักษ์วัฒนธรรมทางนาฎศิลป์ของตนเอาไว้มิให้สูญหาย มีการสอนมีการแสดง และเผยแพร่นาฏศิลป์ไทยให้ท้องถิ่นอื่น หรือนำไปเผยแพร่ในต่างแดน

"Thai Dance"

Thai dance is the main dramatic art form of Thailand. Thai dance, like many forms of traditional Asian dance, can be divided into two major categories that correspond roughly to the high art (classical dance) and low art (folk dance) distinction.


Thai classical dance drama include Khon, Lakhon, and Fawn Thai. Folk dance forms include dance theatre forms like Likay, numerous regional dances (Ram), the ritual dance Ram Muay, and homage to the teacher, Wai Khru. Both Ram Muay and Wai Khru take place before all traditional Muay Thai matches. The Wai is also an annual ceremony performed by Thai classical dance groups to honor their artistic ancestors.


Classical dance drama

Khon
Khon is the most stylised form of Thai dance. It is performed by troupes of non-speaking dancers, the story being told by a chorus at the side of the stage. Choreography follows traditional models rather than attempting to innovate.
Most khon performances feature episodes from the Ramakien. Costumes are dictated by tradition, with demons wearing coloured masks.

Lakhon
Lakhon features a wider range of stories than khon, including folk tales and Jataka stories. Dancers are usually female and perform as a group rather than representing individual characters.

Fawn Thai
Fawn is another form of "folk-dance" accompanied by folk music of the region. The first Fawn originated from the northern region of Thailand, it was designed and taught by Chao Dararasami of Chiang Mai. Since then, a variety of "Fawn" came into practice, according to the music and style of each province, such as the Fawn-Lep finger-nail dance from Chiang Mai, Fawn-Ngiew from Chiang Rai with the influence of Burmese music and costume.

Folk dance

Likay
Likay is much more varied than lakhon or khon. Stories may be original, and include singing, comedy and ham acting. Costumes may be traditional, modern or a combination of the two. Likay is often performed at village festivals. Thai Likay shares similarities with the Khmer theatre style called Yike. Likay can be traced back to Muslim religious performances.

Ram muay
See also: Ram Muay and Muay Thai
Ram Muay is the ritualized dance that takes place before Southeast Asian kickboxing matches such as Muay Thai.

Wai khru
See also: Wai Khru and Wai khru ram muay
Wai Khru is a ritualized form of dance meant to pay respect to, or homage to the khru or teacher. It is performed annually by Thai classical dance institutions as well as before Muay Thai matches.

________________________________________________

อ้างอิงโดย : http://www.banramthai.com

Cite by : http://www.wikipedia.com

28 ต.ค. 2550

::. วิชาสุนทรียศาสตร์ .::

สุนทรียศาสตร์
1. สุนทรียศาสตร์คืออะไร?
ความหมายของสุนทรียศาสตร์คือ วิชาที่ว่าด้วยสิ่งสวยงาม Aesthetics เป็นศาสตร์แห่งความรู้สึก ซึ่งรวมทั้งความรู้สึกในฝ่ายสุข และฝ่ายทุกข์ บางครั้งมีความรู้สึก ทั้งฝ่ายบวกและฝ่ายลบ ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับความงาม อาจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ มาตรฐานต่างๆ ที่นำมาใช้ตัดสินความงามหรือค้นหาสัจธรรมทั้งนี้ จึงเกิดการขยายผลด้านวิชาการมากขึ้น เช่น ปรัชญาสุนทรียศาสตร์, ปรัชญาศิลปะ และปรัชญาการวิจารณ์ หรืออภิวิจารณ์นิยม





2. ประโยชน์ของวิชาสุนทรียศาสตร์








1. ช่วยส่งเสริมความเจริญทางปัญญา หยั่งเห็นสัจธรรมและคุณค่าของความงาม




2. ช่วยส่งเสริมความเจริญทางอารมณ์ เพราะสามารถควบคุมอารมณ์และการแสดงออกในทางที่ถูกต้อง สามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสังคมได้อย่างเป็นสุข








3. ช่วยส่งเสริมการรับรู้ให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์จนเกิดคุณค่าทางด้านสุนทรียภาพ




4. สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ในการดำเนินกิจกรรมทางศิลปะ นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆเช่น ปรัชญา, ศาสนา, ศิลปะ, จิตวิทยา และการศึกษา



3. สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อวิชาชีพพยาบาลเนื่องจาก พยาบาลมีหน้าที่ต้องดูแลรักษาผู้ป่วยซึ่งเมื่อเจ็บป่วยกายและใจมักจะป่วยควบคู่กันอยู่เสมอ ดังนั้นพยาบาลที่ดีต้องนำสิ่งสวยงามที่มีอยู่ในตัวของเราทั้งทางด้านกายและทางด้านจิต หรือการใช้เหตุผล ความรู้สึก ที่ปรารถนาดีต่อผู้ป่วยให้เขาสามารถมีกำลังใจที่ดีโดยพยาบาลพูดจาไพเราะ น่าฟัง ให้การปฏิบัติพยาบาลต่อผู้ป่วยอย่างนุ่มนวล โดยเคารพสิทธิผู้ป่วยและช่วยฟื้นฟูให้ผู้ป่วยได้หายจากโรคภัยต่างๆได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งสามารถให้คำปรึกษาและหาทางช่วยเหลือด้านสุขภาพแก่ประชาชน ที่มีปัญหาได้ โดยไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะและทำงานให้เต็มกำลังความสามารถอย่างมีความสุข















Aesthetics
Aesthetics is a branch of philosophy, a species of value theory or axiology, which is the study of sensory or sensori-emotional values, sometimes called judgments of sentiment and taste. Aesthetics is closely associated with the philosophy of art.

Aesthetic judgment

Judgments of aesthetic value clearly rely on our ability to discriminate at a sensory level. Aesthetics examines what makes something beautiful, sublime, disgusting, fun, cute, silly, entertaining, pretentious, discordant, harmonious, boring, humorous, or tragic.

Immanuel Kant, writing in 1790, observes of a man "If he says that canary wine is agreeable he is quite content if someone else corrects his terms and reminds him to say instead: It is agreeable to me," because "Everyone has his own (sense of) taste". The case of "beauty" is different from mere "agreeableness" because, "If he proclaims something to be beautiful, then he requires the same liking from others; he then judges not just for himself but for everyone, and speaks of beauty as if it were a property of things."
Aesthetic judgments usually go beyond sensory discrimination. For David Hume, delicacy of taste is not merely "the ability to detect all the ingredients in a composition", but also our sensitivity "to pains as well as pleasures, which escape the rest of mankind." Thus, the sensory discrimination is linked to capacity for pleasure. For Kant "enjoyment" is the result when pleasure arises from sensation, but judging something to be "beautiful" has a third requirement: sensation must give rise to pleasure by engaging our capacities of reflective contemplation. Judgments of beauty are sensory, emotional, and intellectual all at once.

Principles of Aesthetics.
+ No reasoned argument can conclude that objects are aesthetically valuable or valueless.

+ Objects are aesthetically valuable if

+ They possess a special aesthetic property or exhibit a special aesthetic form.

+ They have the capacity to convey meaning or to teach general truths.

+ They have the capacity to produce pleasure in those who experience or appreciate them.

+ They have the capacity to convey values or beliefs central to the cultures or traditions in which they originate, or important to the artists who made them.

+ They have the capacity to help bring about social or political change.

+ They have the capacity to produce certain emotions we value, at least when the emotion is brought about by art rather than by life.

+ They have the capacity to produce special non-emotional experiences, such as a feeling of autonomy or the will suspension of disbelief.

____________________________________________________









ประเภทของนาฏศิลป์ไทย

4. การละเล่นพื้นเมือง
การละเล่น หมายถึง การเล่นดนตรี การเล่นเพลง การเล่นรำ การเล่นที่ต้องร่วมกันตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป เรียกว่า มหรสพหรือศิลปะการแสดง พื้นเมือง หมายถึง สิ่งที่อยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆการละเล่นพื้นเมือง หมายถึง การแสดงใด ๆ อันเป็นประเพณีนิยมในท้องถิ่นและเล่นกันใน ระหว่างประชาชน เพื่อความสนุกสนานรื่นเริงตามฤดูกาล การแสดงต้องเป็นไปอย่างมีวัฒนธรรม มีความเรียบร้อย ใช้ถ้อยคำสุภาพ แต่งกายสุภาพถูกต้องตามความนิยมและวัฒนธรรม เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น สถานที่ก็ต้องจัดให้เหมาะสมกับโอกาสที่จะแสดง ซึ่งการละเล่นพื้นเมือง จะไม่เป็นอาชีพหรือเพื่อหารายได้ จะมีดนตรีหรือการขับร้อง หรือการฟ้อนรำประกอบก็ได้การละเล่นพื้นเมือง แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ การแสดงพื้นเมือง และ เพลงพื้นเมืองการแสดงพื้นเมือง หมายถึง การละเล่นที่มีการแสดง การร่ายรำ มีเพลงดนตรีประกอบ ที่ได้วางเป็นแบบแผน และนิยมเล่นหรือถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนแพร่หลายการแสดงพื้นเมือง อาจเกิดจากการบูชาบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ขอให้สิ่งที่ตนนับถือประทานสิ่งที่ตนปรารถนา หรือขจัดปัดเป่าสิ่งที่ไม่ปรารถนา นอกจากนี้ ก็เป็นการแสดงเพื่อความบันเทิงรื่นเริงเพลงพื้นเมือง หมายถึง เพลงที่ชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น ๆ ประดิษฐ์แบบแผนการร้องเพลง ไปตามความนิยม และสำเนียงภาษาพูดในท้องถิ่นของตน นิยมร้องเล่นกันในเทศกาลหรืองานที่มีการชุมนุมรื่นเริง เช่น ตรุษ สงกรานต์ ขึ้นปีใหม่ ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า และในการลงแขกเกี่ยวข้าว นวดข้าว เป็นการเล่นที่สืบต่อกันมา เนื้อความของเพลงพื้นเมืองที่นิยมร้องกัน มักจะเป็นการเกี้ยวพาราสีระหว่างชายหญิง ปะทะคารมกัน ในด้านสำนวนโวหาร สิ่งสำคัญของการร้องคือ การด้นกลอนสด ร้องแก้กันด้วยปฏิภาณไหวพริบ ทำให้เกิดความสนุกสนานทั้งสองฝ่า
การละเล่นพื้นเมืองภาคเหนือในภาคเหนือ ภูมิประเทศเป็นป่าเขา ต้นน้ำลำธาร อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ การทำมาหากินสะดวกสบาย ชาวเหนือจึงมีนิสัยอ่อนโยน ยิ้มแย้มแจ่มใส มีน้ำใจไมตรี การแสดงพื้นเมืองจึงมีลีลาอ่อนช้อย งดงามและอ่อนหวานการแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ เรียกกันว่า ฟ้อน มีผู้แสดงเป็นชุดเป็นหมู่ ร่ายรำท่าเหมือนกัน แต่งกายเหมือนกัน มีการแปรแถวแปรขบวนต่าง ๆ ลักษณะของการแสดงพื้นเมือง ได้แก่ ลีลาการเคลื่อนไหว เป็นไปตามเอกลักษณ์ของแต่ละภาค เครื่องแต่งกาย เป็นลักษณะพื้นเมืองของภาคนั้น ๆ เครื่องดนตรี เป็นของท้องถิ่น ได้แก่ ปี่แน กลองตะโล้ดโป๊ด ฉาบใหญ่ ฆ้องโหม่ง ฆ้องหุ่ย เพลงบรรเลงและเพลงร้อง เป็นทำนองและสำเนียงท้องถิ่นการแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ ได้แก่ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บหรือฟ้อนเมือง ฟ้อนลาวแพน ฟ้อนรัก ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนดวงเดือน ฟ้อนดวงดอกไม้ ฟ้อนดวงเดือน ฟ้อนมาลัย ฟ้อนไต ฟ้อนดาบ ฟ้อนโยคีถวายไฟ ระบำชาวเขา รำกลองสะบัดไชเพลงพื้นเมืองภาคเหนือ เช่น เพลงซอ เพลงชาวเหนือ เพลงดวงดอกไม้
การละเล่นพื้นเมืองภาคอีสานภูมิประเทศภาคอีสานเป็นที่ราบสูง ค่อนข้างแห้งแล้งเพราะพื้นดินไม่เก็บน้ำ ฤดูแล้งจะกันดาร ฤดูฝนน้ำจะท่วม แต่ชาวอีสานก็มีอาชีพทำไร่ทำนา และเป็นคนรักสนุก จีงหาความบันเทิงได้ทุกโอกาสการแสดงของภาคอีสาน มักเกิดจากกิจวัตรประจำวัน หรือประจำฤดูกาล เช่น แห่นางแมว เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งสวิง เซิ้งกระติบ รำลาวกระทบไม้ ฯลฯลักษณะการแสดงซึ่งเป็นลีลาเฉพาะของอีสาน คือ ลีลาและจังหวะในการก้าวเท้า มีลักษณะคล้ายเต้น แต่นุ่มนวล มักเดินด้วยปลายเท้าและสบัดเท้าไปข้างหลังสูง เป็นลักษณะของ เซิ้ง ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ได้แก่ กลองยาว กรับ ฉาบ โหม่ง แคน โปงลางการแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน ได้แก่ ฟ้อนภูไท เซิ้งสวิง เซิ้งโปงลาง เซิ้งตังหวาย ภูไทสามเผ่า ไทภูเขา เซิ้งกระติบข้าวเพลงพื้นเมืองภาคอีสาน เช่น หมอลำ เพลงโคราช เจรียง กันตรึม เพลงล่องโขง เพลงแอ่วแคน
การละเล่นพื้นเมืองภาคใต้ภาคใต้ เป็นดินแดนที่ติดทะเลทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออก ทางด้านใต้ติดกับมลายู ทำให้รับวัฒนธรรมของมลายูมาบ้าง และมีขนบประเพณีวัฒนธรรมและบุคคลิกบางอย่างคล้ายคลีงกัน คือ พูดเร็ว อุปนิสัยว่องไว ตัดสินใจรวดเร็วเด็ดขาด การแต่งกาย เพลง และดนตรีคล้ายคลึงกันมากการแสดงพื้นเมืองภาคใต้ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ๑. มหรสพ คือ การแสดงเป็นเรื่อง เช่น หนังตะลุง มีตัวหนัง มีคนเชิด มีการร้องและเจรจา นอกจากนั้นมี ลิเกป่า หรือลิเกรำมะนา หรือลิเกแขกแดง หรือลิเกแขกเทศ หรือลิเกบก ซึ่งผู้แสดงโต้ตอบกันเป็นเรื่องราว อีกการแสดงคือ โนรา ถ้าเล่นเป็นเรื่องก็ถือเป็นมหรสพ แต่ถ้าร่ายรำเป็นชุด ก็ถือเป็นการแสดงเบ็ดเตล็ด๒. การแสดงเบ็ดเตล็ด คือ ร่ายรำเป็นชุด เช่น โนรา ร็องเง็ง ซัมเปง ตารีกีปัส ระบำร่อนแร่ กรีดยาง ปาเต๊ะ รำซัดชาตรี ดนตรีของภาคใต้ ได้แก่ กลองแขก รำมะนา ปี่ ทับ โหม่ง ฉิ่ง ซอเพลงพื้นเมืองภาคใต้ เช่น เพลงร้องเรือ(เพลงกล่อมเด็ก) เพลงบอก เพลงกำพรัด(หรือคำพลัด)


1. ถ้าคุณค่าหมายถึงคุณสมบัติ เช่น ของเหลว ร่วน แข็ง ก็ย่อมเป็นลักษณะของคุณค่าด้วย?

ตอบ หากเรากำหนดให้คุณค่าหมายถึง คุณสมบัติดังเช่นตัวอย่าง นั่นก็หมายความว่า คุณสมบัติก็เป็นลักษณะหรือเป็นส่วนประกอบของคุณค่าด้วยเช่นกัน แต่ความเหลว ความร่วน ความแข็ง เป็นสิ่งที่มนุษย์รับรู้ได้จากสิ่งเร้าหรือการรับสัมผัส ตัดสินว่ามันเป็นสิ่งที่เห็นจริง ๆ }

2. ถ้าคุณค่าในตัวของมันเองเป็นคนละเรื่องของคุณสมบัติ คุณค่าควรจะอยู่ที่ใด ?

ตอบ อยู่ที่อารมณ์และความรู้สึกของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าใครจะรู้สึกว่าอย่างไรกับสิ่งเร้า แล้วตัดสินใจว่า สิ่งนั้นมีคุณค่าในตัวมันเองหรือไม่

3. ถ้าคุณค่าของตัวมันเอง หมายถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อสิ่งอื่น

ตอบ ถ้าคุณค่าหมายถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อสิ่งอื่น นั้นคือ คุณค่าไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัตถุเพียงอย่างเดียวแต่คุณค่ามีความสัมพันธ์กับจิตใจ คือ ไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นลอย ๆ แต่เมื่อสิ่งนั้นเอื้อประโยชน์กับสิ่งอื่น ๆ ก็แสดงว่า สิ่งนั้นมีคุณค่ามีอิทธิพลต่อสิ่งอื่น ๆ หรือมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะด้านบวกและด้านลบก็ตามแสดงว่าคุณค่ามีความสัมพันธภาพกับจิตใจ หรือเกิดจากจิตใจมนุษย์กับวัตถุด้วยเช่นใจ

4. ถ้าคุณค่าในตัวของมันเองหมายถึงการดำรงอยู่โดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใด

ตอบ ถ้าหากเงื่อนไขบกว่าคุณค่าในตัวของมันเองหมายถึง การดำรงอยู่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใดหรือไม่มีผลต่อสิ่งใด ทั้งทางตรงและทางอ้อม คุณค่าในตัวของมันเองก็มีได้เพราะคุณค่าถูกกำหนดจากมนุษย์ขึ้นมาเท่านั้นเอง จะนำมาใช้หรือไม่นำมาใช้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ความมีคุณค่าก็ยังคงอยู่เหมือนเดิม แต่คำกล่าวที่ว่าสรรพสิ่งใดในโลกจะอยู่ไม่ได้เลยถ้าไม่มีสัมพันธ์กับสิ่งใดนั้นเป็นการแสดงว่า จิตใจเรามีปฏิกริยากับสถานการณ์หรือวัถตุขณะนั้นแล้วเรานำความรู้สึกหรือการได้รับรู้อารมณ์มาปรุงแต่งทำให้เกิดเป็นสัมพันธภาพระหว่างกัน ก็เลยมองว่า ทุกสิ่งในโลกมีความสัมพันธ์ต่อกัน

5. การพิจารณาปัญหาคุณค่าแบบโดด ๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใด

ตอบ การพิจารณาปัญหาอื่น ๆ กับปัญหาคุณค่าเป็นเพียงการตัดสินในเรื่องของอารมณ์และความรู้สึกนึกคิด ถ้าคิดว่าคุณค่ามีความสัมพันธ์กับสิ่งอื่น ๆ กับความหมายว่าปัญหาของมนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งแวดล้อมมีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ แต่จิตนิยมบอกว่าขึ้นอยู่กับจิตใจและความรู้สึกของคนที่ตัดสินซึ่งไม่เหมือนกันทุกคนบางคนอาจจะคิดว่าเป็นปัญหาของบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่บางคนอาจจะคิดว่าปัญหาเกิดขึ้นเพราะเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อมหรือบริบทของสิ่งนั้น

สรุป

จากคำถามทั้งหมดไม่สามารถหาคำตอบได้ตายตัวแน่นอนขึ้นอยู่กับว่าเรากำหนดให้เงื่อนไขนั้นเป็นอย่างไรและมุมมองของแต่ละคนที่แตกต่างกันก็ทำให้ความคิดเห็นของแต่ละคนก็แตกต่างกันด้วย การตัดสินคุณค่าในสิ่งใดสิ่งหนึ่งจึงเป็นเรื่องของอารมณ์และความรู้สึกของแต่ละคนวัตถุบางอย่างอาจมีคุณค่ามากสำหรับคนหนึ่งแต่อาจจะหาคุณค่าไม่ได้เลยสำหรับอีกคนหนึ่งก็ได้ คุณค่าของความงามจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับจิตใจมนุษย์และความสัมพันธภาพกับวัตถุรับสัมผัส ในขณะนั้น

25 ต.ค. 2550

เศรษฐกิจพอเพียง "The Sufficiency Economy"

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็น ปรัชญา ที่ชี้แนวทาง การดำรงอยู่ และปฏิบัติตน ของประชาชนในทุกระดับ รวมถึงระดับรัฐบาล ในการพัฒนา และบริหารประเทศ ที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัส แก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 และภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ได้ทรงเน้นย้ำ เป็นแนวทางการแก้ไข เพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้ อย่างมั่นคง และยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ


สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ ในทางเศรษฐกิจ และสาขาอื่นๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรอง พระราชดำรัสเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความ กราบบังคลทูลพระกรุณา ขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2542
โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทาน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็น แนวทางปฏิบัติของสำนักงานฯ และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน ถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งจะต้องอาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง ในการนำวิชาต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็นที่มาของนิยาม "3 ห่วง 2 เงื่อนไข" ที่ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านช่องทางต่างๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน บนเงื่อนไข ความรู้ และ คุณธรรม
ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสว่า "การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง"

( พระราชดำรัส "เศรษฐกิจแบบพอเพียง" พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540)

การนำไปใช้
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาคของไทย ซึ่งบรรจุอยู่ใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า สังคมสีเขียว (Green Society) ด้วยหลักการดังกล่าว แผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 นี้จะไม่เน้นเรื่อง ตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงให้ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ หรือระบบเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกัน ระหว่างเศรษฐกิจชุมชนเมืองและชนบท ปัญหาหนึ่งของการนำปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ก็คือ ผู้นำไปใช้อาจยังไม่ได้ศึกษาหรือไม่มีความรู้เพียงพอ ทั้งยังไม่วิเคราะห์หรือตั้งคำถาม เนื่องจากประเพณี. สมเกียรติ อ่อนวิมล เรียกสิ่งนี้ว่า "วิกฤตเศรษฐกิจพอเพียง" คือ ความไม่รู้ว่าจะนำปรัชญานี้ไปใช้ทำอะไร กลายเป็นว่าผู้นำสังคมทุกคน ทั้งนักการเมืองและรัฐบาลใช้คำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นข้ออ้างในการทำกิจกรรมใด ๆ เพื่อให้รู้สึกว่าได้สนองพระราชดำรัสและให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดี หรือพูดง่ายๆ ก็คือ "เศรษฐกิจพอเพียง" ถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือเพื่อตัวเอง สมเกียรติได้ให้สัมภาษณ์วิจารณ์โครงการในยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ว่า "รัฐบาลยังไม่ได้ใช้อะไรเลยเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ใช้แต่พูดเหมือนคุณทักษิณ แต่คุณทักษิณพูดควบคู่กับการเอาทุนนิยม 100 เปอร์เซ็นต์ลงไป.. ซึ่งรัฐบาลนี้ต้องปรับทิศทางใหม่ เพราะรัฐบาลไม่ได้เอา เศรษฐกิจพอเพียงเป็น ปรัชญาและเป็นนโยบายทางวัฒนธรรมและสังคม" สมเกียรติยังมีความเห็นด้วยว่า ความไม่เข้าใจ นี้ อาจเกิดจากการสับสนว่า เศรษฐกิจพอเพียง กับ ทฤษฎีใหม่นั้นเป็นเรื่องเดียวกัน ทำให้มีความเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงการปฏิเสธอุตสาหกรรมแล้วกลับไปสู่เกษตรกรรม ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ได้รับการเชิดชูสูงสุด จากองค์การสหประชาชาติ (UN)โดยนายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯถวายรางวัล The Human Development Lifetime Achievement Award แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ 26 พฤษภาคม 2549 และได้มีปาฐกถาถึง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ว่าเป็นปรัชญาที่สามารถเริ่มได้จากการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง สู่หมู่บ้าน และสู่เศรษฐกิจในวงกว้างขึ้นในที่สุด เป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ โดยที่องค์การสหประชาชาติได้สนับสนุนให้ประเทศต่างๆที่เป็นสมาชิก 166 ประเทศยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน



The Sufficiency Economy

The economic crisis in 1997 made Thai citizens from every region, both the public and private sectors, aware of the vulnerability of the country's economic foundation and the problems of heavy reliance on foreign investment, technology, and matkets. This led to serious attention being given to the study and analysis of His Majesty's address on the topic of "Sufficiency Economy".

"Sufficiency Economy" is a philosophy bestowed by His Majesty the King to his subjects through royal remarks on many occasions over the past three decades. The philosophy provides guidance on appropriate conduct covering numerous aspects of life. After the economic crisis in 1997, His Majesty reiterated and expanded on the "Sufficiency Economy" in remarks made in December 1997 and 1998. The philosophy points the way for recovery that will lead to a more resilient and sustainable economy, better able to meet the challenges arising from globalisation and other changes.

"Sufficiency Economy" is a philosophy that stresses the middle path as the overriding principle for appropriate conduct by the populace at all levels. This applies to conduct at the level of the individual, families, and communities, as well as to the choice of a balanced development strategy for the nation so as to modernise in line with the forces of globalisation while shielding against inevitable shocks and excesses that arise. "Sufficiency" means moderation and due consideration in all modes of conduct, as well as the need for sufficiency protection from internal and external shocks. To achieve this, the application of knowledge with prudence is essential. In particular, greatcare is needed in the utilisation of untested theories and methodologies for planning and implementation. At the same time, it is essential to strengthen the moral fibre of the nation, so that everyone, particularly public offcials, theorists and businessmen, adheres first and foremost to the principle of honesty and integrity. In addition, a balanced approach combining patience, perseverance, diligence, wisdom and prudence is indispensable to cope appropriately with critical challenges arising from extensive and rapid socioeconomic, environmental, and cultureal changes occurring as a result of globalisation.

14 ต.ค. 2550

::. ประวัติส่วนตัว ; My PrOfiLe .::

ทั่วไป :

ชื่อ : นางสมกมล อรรคทิมากูล

อายุ : 41 ปี

ระดับการศึกษา : ปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต (การจัดการ) วิทยาลัยครูกาญจนบุรี 2535

กำลังศึกษาต่อ : พยาบาลศาสตรบัณฑิตต่อเนื่อง 2ปี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
สถานที่ทำงาน : โรงพยาบาลสังขละบุรี กาญจนบุรี ปี2529-2533, โรงพยาบาลเจ้าคุณไพบูลย์พนมทวน กาญจนบุรี ปี2534-2537, ฝ่ายบริหารงานบุคคล สำนักงานสาธารณสุขกาญจนบุรี ปี2537-2549

รวมอายุราชการปกติ : 20ปี และวันทวีคูณ 5 ปี


ส่วนตัว:


สถานะภาพ : สมรส

สมาชิกครอบครัว :
1. พันเอกเรืองศักดิ์ อรรคทิมากูล อายุ 45ปี
2. เด็กหญิงณัฐธิดา อรรคทิมากูล อายุ 14ปี
3. เด็กหญิงเยาวลักษณ์ อรรคทิมากูล อายุ 10ปี

ผลงานที่ภูมิใจ :
การเลี้ยงดูบุตรในวัยเยาว์ ได้อาศัยการเลี้ยงดูแบบวัฒนธรรมไทย ขนบธรรมเนียบประเพณีไทย การอยู่อย่างไทย โดยอาศัย เครื่องเล่นดนตรีไทย และปลูกฝังให้บุตรได้เรียนนาฏศิลป์จนทำให้บุตรทั้งสองคนเป็นคนมีสมาธิ เรียบร้อยและมีเหตุผล มีความรับผิดชอบ ซึ่งมีผลต่อการเรียนหนังสือเป็นอย่างยิ่ง
1. บุตรคนโต ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษระดับจังหวัด, ระดับเขต และติด 1 ใน 10 ของระดับประเทศ, มีความสามารถด้านดนตรีเช่น ซออู้, ขิม และไวโอลิน


2. บุตรคนเล็ก มีความสามารถทางด้านการใช้ภาษาอังกฤษ , ภาษาไทย, จินตคณิต, รักการเล่นดนตรีสากล ได้แก่เปียโน และวาดภาพ


------------------------------------------------------------------